วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา

1. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม  เนื่องจากเป็นการวัดคุณลักษณะนามธรรมที่อยู่ภายในตัวบุคคล  ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง  เช่น  การวัดระดับสติปัญญา  การวัดความคิดเห็น  การวัดเจตคติ  การวัดจริยธรรม ดังนั้น  เพื่อจะวัดคุณลักษณะเหล่านี้ผู้สอนจะต้องหาสิ่งเร้ามากระตุ้นให้บุคคลแสดงคุณลักษณะที่ต้องการวัดออกมาในรูปพฤติกรรมที่สังเกตได้ก่อน  แล้วจึงวัดพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่ามีปริมาณเท่าใด  หรือมีคุณภาพเป็นอย่างไร  เช่น ถ้าต้องการรู้ว่าผู้เรียนมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หรือไม่ ผู้สอนต้องแปลง ความรู้ทางคณิตศาสตร์  ออกมาเป็นพฤติกรรมที่วัดได้  เช่น ผู้เรียนสามารถบวกเลขสองหลักได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากผู้เรียนทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก็สรุปย้อนกลับไปว่าผู้เรียนมี ความรู้ทางคณิตศาสตร์  หรือถ้าต้องการทราบว่าผู้เรียนมีความรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด  ส่งตรงเวลาหรือไม่ ทำงานครบถ้วนหรือไม่  แล้วจึงย้อนสรุปว่าผู้เรียนมีหรือไม่มีความรับผิดชอบซึ่งแตกต่างจากการวัดทางวิทยาศาสตร์ซึ่งวัดสิ่งที่มีตัวตน  จับต้องได้ จึงสามารถนำเครื่องมือไปวัดได้โดยตรง  เช่น  ส่วนสูง   น้ำหนัก   ปริมาณ  อุณหภูมิ  ความดัน   แรงกด                                                                                                
2.  การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์   คือ  ไม่สามารถวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆ  ที่ต้องการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์  เนื่องจากพฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนการสอนเป็นพฤติกรรมที่แฝงอยู่ภายในตัวบุคคล  ไม่สามารถกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมได้ครบถ้วน  รวมทั้งไม่สามารถกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมได้อย่างแน่นอน  ดังนั้น  ในการวัดผลทางการศึกษาจะต้องเลือกวัดพฤติกรรมที่สำคัญจำนวนหนึ่งซึ่งถือเป็นตัวแทนของพฤติกรรมทั้งหมด                                                      
 3.  การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน    ความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้ทั้งในการวัดทางวิทยาศาสตร์และการวัดทางจิตวิทยา  เช่น  การชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งอาจจะคลาดเคลื่อนเนื่องจากเครื่องชั่งหย่อนประสิทธิภาพหรืออ่านค่าน้ำหนักผิด  การวัดผลทางการศึกษาก็มีความฉลาดเคลื่อนเนื่องจากเป็นการวัดพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมาเมื่อมีสิ่งเร้าไปกระตุ้น  พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นอาจไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสังเกตได้  หรืออาจแกล้งทำ  หรืออาจไม่ใช่เป็นผลจากการกระตุ้นของสิ่งที่นำไปเร้า  การวัดผลทางการศึกษาจึงมีความเคลื่อนมาก  เพราะพฤติกรรมส่วนใหญ่ต้องการวัดมีลักษณะซับซ้อน  สังเกตหรือจับต้องไม่ได้  เช่น  ความรู้   ความเชื่อ   ความคิดเห็น                                    
 4. การวัดผลทางการศึกษาเป็นการวัดเชิงสัมพัทธ์   ในการวัดทางวิทยาศาสตร์นั้น ข้อมูลที่ได้จากการวัดจะมีความหมาย คือ  ให้ความรู้ความเข้าใจได้ในทันที  เช่น   วิชัยสูง  150  เซนติเมตร แสดงว่าเป็นคนเตี้ย  หรือฝรั่งผลนี้น้ำหนัก  1   กิโลกรัม    แสดงว่าผลโตมาก  ในขณะที่ข้อมูลที่เป็นผลจากการวัดทางการศึกษาไม่มีความหมายในตัวเอง  อธิบายไม่ได้  จะต้องนำไปเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสียก่อนจึงบอกได้ว่าคะแนนของข้อสอบนั้นมีความหมายอย่างไร  (มาก-น้อย/เก่ง-อ่อน) ตัวอย่างเช่น  ในการสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน  40  คนซึ่งมีคะแนนเต็ม  100  คะแนนผู้ที่จะสอบผ่านจะต้องสอบได้คะแนนตั้งแต่  50  คะแนนขึ้นไป  จากคะแนนพบว่า  ปัญญาสอบได้  45 คะแนน  และคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  65  คะแนน  ซึ่งคะแนนของปัญญาจะมีความหมายต่อเมื่อนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับสิ่ง
5.  การวัดผลทางการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้   เนื่องจากเป็นการวัดที่ไม่ทราบจุดเริ่มต้นที่แสดงถึงพฤติกรรมที่ว่างเปล่า  ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลทางการศึกษาซึ่งส่วนใหญ่คือจำนวนหรือตัวเลขซึ่งเรียกว่า  คะแนน  เป็นข้อมูลในระดับอันตรภาค  ซึ่งข้อมูลในระดับนี้ไม่มีศูนย์แท้  คะแนน  0  คะแนน ในทางการศึกษาไม่ได้หมายความว่า  ไม่มี  หรือ  ว่างเปล่า  แต่มีความหมายว่า  ผู้ที่ได้คะแนน  0  คะแนนจากการทำแบบทดสอบข้อสอบไม่ถูกเลยแม้แต่ข้อเดียว  ดังนั้นจะแปลความว่าผู้เรียนคนนั้นไม่มีความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ เลยไม่ได้  ดังนั้นคำว่า  0  คะแนน  ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของความรู้ที่ว่างเปล่า  จึงไม่ได้แปลว่าผู้สอบไม่มีความรู้  และผู้เรียนคนหนึ่งสอบได้  40   คะแนน  อีกคนหนึ่งสอบได้  20  คะแนน  ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนคนแรกมีความรู้เป็น  2  เท่าของอีกคนหนึ่ง     หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษาการวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางสังคมศาสตร์หรือจิตวิทยา  ครอบคลุมคุณลักษณะที่ต้องการวัดใน  3  ด้าน  คือ  ด้านสติปัญญา  เช่น  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เชาว์ปัญญา  ความคิด